Shortcut Key



CTRL+A : ไฮไลต์ไฟล์ หรือข้อความทั้งหมด
CTRL+C : ก๊อปปี้ไฟล์ หรือข้อความที่เลือกไว้
CTRL+X : ตัด (cut) ไฟล์ หรือข้อความที่เลือกไว้
CTRL+V : วาง (paste) ไฟล์ หรือข้อความที่ก๊อปปี้ไว้
CTRL+Z : ยกเลิกการกระทำที่ผ่านมาล่าสุด
ปุ่ม Windows : ถ้าใช้เดี่ยว ๆ จะเป็นการแสดง Start Menu
ปุ่ม Windows + D : ย่อหน้าต่างที่เปิดอยู่ทั้งหมด
ปุ่ม Windows + E : เปิด windows explorer
ปุ่ม Windows + F : เปิด Search for files
ปุ่ม Windows + Ctrl+F : เปิด Search for Computer
ปุ่ม Windows + F1 : เปิด Help and Support Center
ปุ่ม Windows + R : เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ RUN
ปุ่ม Windows + break : เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ System Properties
ปุ่ม Windows +shift + M : เรียกคืนหน้าต่างที่ถูกย่อลงไปทั้งหมด
ปุ่ม Windows + tab : สลับไปยังปุ่มต่าง ๆ บน Taskbar
ปุ่ม Windows + U : เปิด Utility Manager

HotKey สำหรับ Windows

* BACKSPACE : (ดูโฟลเดอร์ย้อนขึ้นหนึ่งระดับใน MyComputerหรือIneternet Explorer)
* ESC : (ยกเลิกงานปัจจุบัน)
* CTRL+C : (คัดลอก)
* CTRL+X : (ตัด)
* CTRL+V : (วาง)
* CTRL+Z : (ยกเลิก)
* DELETE : (ลบ)
* SHIFT+DELETE :(ลบรายการที่เลือกอย่างถาวรโดยไม่เก็บไว้ใน Recycle Bin)
* กดปุ่ม CTRL : ขณะที่ลากรายการ (คัดลอกรายการที่เลือก)
* กดปุ่ม CTRL+SHIFT : ขณะที่ลากรายการ (สร้างทางลัดไปยังรายการที่เลือก)
* ปุ่ม F2 : (เปลี่ยนชื่อรายการที่เลือก)
* CTRL+ ลูกศรขวา : (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำถัดไป)
* CTRL+ ลูกศรซ้าย : (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำก่อนหน้า)
* CTRL+ ลูกศรลง : (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าถัดไป)
* CTRL+ ลูกศรขึ้น : (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าก่อนหน้าไป)
* CTRL+SHIFT : พร้อมกับปุ่มลูกศรใดๆ (ไฮไลต์บล็อกข้อความ)
* CTRL+A : (เลือกทั้งหมด)
* ปุ่ม F3 : (ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์)
* ALT+ENTER : (ดูคุณสมบัติต่างๆ ของรายการที่เลือก)
* ALT+F4 : (ปิดรายการที่ใช้งานอยู่ หรือปิดโปรแกรมที่ใช้งาน)
* ALT+ENTER : (แสดงคุณสมบัติของออบเจกต์ที่เลือก)
* ALT+SPACEBAR : (เปิดเมนูทางลัดสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
* CTRL+F4 : (ปิดเอกสารที่ใช้งานอยู่)
* ALT+TAB : (สลับระหว่างรายการต่างๆ ที่เปิดอยู่)
* ALT+ESC : (สลับไปยังรายการต่างๆ ตามลำดับที่เปิด)
* ปุ่ม F6 : (สลับไปตามรายการอิลิเมนต์บนหน้าจอในหน้าต่างหรือบนเดสก์ทอป)
* ปุ่ม F4 : (แสดงรายการแอดเดรสบาร์ใน My Computer หรือ Windows Explorer)
* SHIFT+F10 : (แสดงเมนูทางลัดสำหรับรายการที่เลือก)
* ALT+SPACEBAR : (เปิดเมนูระบบสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
* CTRL+ESC : (แสดงเมนู Start)
* ALT+อักษรขีดเส้นใต้ในชื่อเมนู : (แสดงเมนูนั้นๆ)
* อักษรที่ขีดเส้นใต้ในชื่อคำสั่งบนเมนูที่เปิด : (ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ)
* ปุ่ม F10 : (เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่กำลังใช้งาน)
* ลูกศรขวา : (เปิดเมนูถัดไปทางขวา หรือเปิดเมนูย่อย)
* ลูกศรซ้าย : (เปิดเมนูถัดไปทางซ้าย หรือปิดเมนูย่อย)
* ปุ่ม F5 : (อัปเดทหน้าต่าง)
* กดปุ่ม SHIFT : ขณะที่ใส่แผ่นซีดีรอมลงในไดรฟ์ซีดีรอม (ยกเลิกการเล่นซีดีรอมอัตโนมัติ)
* CTRL+SHIFT+ESC : (เปิด Task Manager)

Pladao Office

ปลาดาว ออฟฟิศ คือ ชุดโปรแกรมสำนักงานที่รองรับการทำงานกับเอกสารภาษาไทย สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และมีโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) สร้างตารางคำนวณ (Spreadsheet) นำเสนองาน (Presentation) วาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing) และโปรแกรมสมการคณิตศาสตร์ (Equation) ใช้ได้กับ 3 ระบบปฏิบัติการหลัก คือ Solaris, Linux, หรือ Windows นอกจากนี้ ปลาดาวมีคุณสมบัติการใช้งานเอกสารที่มาจากต่างระบบกันได้ (cross platform) ตัวอย่างจากการทดลองการใช้งาน ปลาดาวสามารถเปิดเอกสารที่สร้างขึ้นจาก Microsoft Excel หรือ Microsoft Word ขึ้นมาใช้ปรับปรุงแก้ไขได้
โปรแกรมหลักๆ ของปลาดาว ออฟฟิศมีดังนี้
1. Writer เป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft Word
2. Calc เป็นโปรแกรมตารางคำนวณ (Spreadsheet) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft Excel
3. Impress เป็นโปรแกรมนำเสนองาน (Presentation) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft PowerPoint
4. Draw เป็นโปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing)
5. Math เป็นโปรแกรมพิมพ์สมการคณิตศาสตร์ (Equation)


ปัจจุบันมีการตื่นตัวทางด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากเมื่อ เร็ว ๆ นี้มีการคุมเข้มการขายซอฟต์แวร์เถื่อนตามศูนย์การค้าไอทีชั้นนำอย่างพันธุ์ทิพย์ หรือเสรีเซ็นเตอร์ผลจากการตรวจจับผู้ละเมิดกฎหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญานี้ ทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ระดับองค์กรหรือแม้แต่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ตามบ้านที่จำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆโดยเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ใช้กัน อย่างแพร่หลายอย่างไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ไม่สามารถทำสำเนาซอฟต์แวร์หรือซื้อแผ่นก็อปปี้ของโปรแกรมในราคาถูกได้อีกต่อไป เช่นเดียวกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้โปรแกรม Word หรือ Excel เพื่อจัดเก็บเอกสารภายในองค์กร ไม่สามารถที่จะใช้แผ่นก็อปปี้เพียงชุดเดียวของไมโครซอฟต์ออฟฟิศไปดำเนินการติดตั้งโปรแกรมบนเครื่องของหน่วยงานได้


ในช่อง Nickname ให้ใส่ชื่อที่สามารถจำได้ง่ายว่าคนๆ นั้นคือใครเช่น ชื่อเล่น ชื่อตำแหน่ง ของคนที่เราต้องการจะAdd Address Book แต่มีข้อแม้ว่าห้ามตั้งชื่อซ้ำกัน ต่อไปก็ให้ใส่ E-mail Address ของบุคคลคนนั้นในช่อง E-mail Address และใส่ชื่อจริงในช่อง First Name ส่วนในช่องที่เหลือคือ Last Name และ Additional info เป็นข้อมูลที่ช่วยเตือนความจำ เราจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ และหากต้องการสร้าง Address Book ที่เป็นกลุ่มบุคคล ในช่อง E-mail Address ก็ให้ใส่รายชื่อ E-mail Address ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยทั้งหมด โดยแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย ( , ) หรือจุลภาค
ทางเลือกใหม่ของซอฟต์แวร์สำนักงานที่มีฟังก์ชั่นการทำงานคล้ายกับไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ได้แก่การเลือกใช้ฟรีแวร์อย่างโอเพนออฟฟิศ (Openoffice) สตาร์ออฟฟิศ (StarOffice) หรือปลาดาว ออฟฟิศ (Pladao office) ในที่นี้จะแนะนำโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็ม ประเทศไทย ร่วมโครงการกับเนคเทค และได้ว่าจ้างกลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของ ประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเขียนขึ้นเป็นการพัฒนาต่อจากโปรแกรมโอเพนออฟฟิศ ซึ่งเป็น โอเพนซอร์สโปรแกรมที่มีต้นตอมาจากบริษัทซันฯโดยเพิ่มความสามารถในการใช้ภาษาไทยไว้ในตัวซอฟต์แวร์นี้ด้วย
ปลาดาว ออฟฟิศ คือ ชุดโปรแกรมสำนักงานที่รองรับการทำงานกับเอกสารภาษาไทย สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และมีโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) สร้างตารางคำนวณ (Spreadsheet) นำเสนองาน (Presentation) วาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing) และโปรแกรมสมการคณิตศาสตร์ (Equation) ใช้ได้กับ 3 ระบบปฏิบัติการหลัก คือ Solaris, Linux, หรือ Windows นอกจากนี้ ปลาดาวมีคุณสมบัติการใช้งานเอกสารที่มาจากต่างระบบกันได้ (cross platform) ตัวอย่างจากการทดลองการใช้งาน ปลาดาวสามารถเปิดเอกสารที่สร้างขึ้นจาก Microsoft Excel หรือ Microsoft Word ขึ้นมาใช้ปรับปรุงแก้ไขได้ โปรแกรมหลักๆ ของปลาดาว ออฟฟิศมีดังนี้ 1. Writer เป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft Word 2. Calc เป็นโปรแกรมตารางคำนวณ (Spreadsheet) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft Excel 3. Impress เป็นโปรแกรมนำเสนองาน (Presentation) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft PowerPoint 4. Draw เป็นโปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing) 5. Math เป็นโปรแกรมพิมพ์สมการคณิตศาสตร์ (Equation)
ปลาดาวออฟฟิศจึงเป็นทางออกของผู้ใช้ซอฟต์แวร์ออฟฟิศในภาวะคุมเข้มของกฎหมาย ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในเมืองไทย ด้วยความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้ และมีโปรแกรมหลักหลาย ตัวที่มีคุณลักษณะคล้ายกับโปรแกรมสำนักงานอย่าง Microsoft Office และสามารถดาวน์โหลดได้ ฟรีพร้อมกับติดตั้งได้ทุกเครื่องทุกแพลตฟอร์ม
ได้มาแล้วครับ Pladao Office 2.0 Preview Release สำหรับแฟนๆ ที่ใจร้อนอยากลองกันก่อนก็นำมาให้แล้วตามคำสัญญา แม้จะช้าไปนิดแต่ก็พอดีได้ต้อนรับศักราชใหม่กันเลยล่ะครับ ผมได้นำมาไว้ที่ไซต์ของ Easyhome แล้วส่วนหนึ่ง อ่าน
รายละเอียดก่อนดาวน์โหลด ส่วนท่านที่อยู่ในเขตภาคอื่นๆ ก็เชิญดาวน์โหลดได้จากมิเรอร์ไซต์ต่างๆ
ส่วนการทดลองใช้งานในเวอร์ชั่นนี้คงต้องรอให้ผ่านศักราช 2545 นี้ไปก่อนนะครับ เพราะว่าผมไม่สะดวกที่จะทดลองบนโน้ตบุ๊คตัวเก่ง เพราะเนื้อที่เหลือน้อยเกินไป เอาไว้ให้กลับถึงบ้านแล้วจะลองทันทีพร้อมรายงานให้ทราบต่อไปครับ Pladao Office 1.0 คือชุดโปรแกรมสำนักงานภาษาไทย ที่ถูกพัฒนาโดยทีมโปรแกรมเมอร์ไทยมาจากโปรแกรมต้นแบบเปิดที่มีชื่อว่า OpenOffice.org build 638C ให้รองรับภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดย บริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) เพื่อให้คนไทยได้ใช้งานซอฟท์แวร์ดีๆ และแจกฟรีอีกด้วย เมื่อติดตั้งโปรแกรมแล้วจะพบว่ามีไอค่อนที่ System tray ดัง
โปรแกรมชุดสำนักงานปลาดาวได้พัฒนาออกมาเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ Solaris (SPARC) ของ บริษัท ซันฯ เอง กลุ่มที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ Linux (x86) และที่ผมนำมาทดลองใช้งานและนำเสนอนี้ใช้บนระบบปฏิบัติการวินโดว์ (แนะนำ Windows 98, ME หรือ 2000 ขึ้นไป ต้องการพื้นที่ติดตั้ง 170 MB, RAM > 32 MB) โปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ ประกอบด้วยโปรแกรมแยกย่อยที่นิยมใช้ในสำนักงานทั่วไป ได้แก่
Writer เอกสารข้อความ โปรแกรมประมวลผลคำ (word processor)
Calc กระดาษคำนวณ โปรแกรมตารางคำนวณ (spreadsheet)
Impress การนำเสนอ โปรแกรมนำเสนองาน (presentation)
Draw วาดรูป โปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์ (drawing

และยังมีโปรแกรมเสริมอื่นๆ อีก เช่น สูตรคำนวณ สำหรับการพิมพ์สมการหรือสูตรทางคณิตศาสตร์ โปรแกรมทำนามบัตรและป้ายชื่อ โดยทุกตัวใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ที่พบเพิ่มเติมเข้ามาในเวอร์ชั่นจริงนี้คือความสามารถในการเปลี่ยนเมนูภาษาไทย/อังกฤษได้ เมื่อเรียกเปลี่ยนภาษาในส่วนติดต่อผู้ใช้จะปรากฏกรอบสำหรับเปลี่ยนภาษาให้ป้อนตัวอักษร T สำหรับภาษาไทย หรือ E สำหรับภาษาอังกฤษ (อักษรตัวใหญ่เท่านั้น) ภาษาจะเปลี่ยนเมื่อเรียกโปรแกรมขึ้นมาใช้ใหม่
คุณสมบัติอันเยี่ยมยอดของโปรแกรมชุดปลาดาวก็คือ สามารถเปิดเอกสารเดิมที่ถูกบันทึกไว้ในรูปของ MS Office 6.0, 95, 97, 2000, XP ได้ โดยที่รูปแบบของเอกสารต่างๆ ยังคงเดิม ใช้ฟอนต์ภาษาไทยบนวินโดว์ได้เกือบทุกกลุ่ม และยังมีฟอนต์ไทยชนิด TrueType ของปลาดาวเองอีกจำนวน 5 ฟอนต์ (สามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการอีกด้วย)
การใช้งานต่างๆ ง่ายดายครับและค่อนข้างจะคุ้นเคยเหมือนกับการใช้โปรแกรมชุด MS Office เรียกว่าทำได้เหมือนกันทุกกรณีทีเดียว ทั้งการแทรกรูปภาพ แทรกสมการคณิตศาสตร์ วาดรูป การจัดรูปแบบตัวอักษรและการสะกดคำอัตโนมัติ ช่วยแก้ไขคำสะกดผิดให้ถูกต้อง







เอกสารที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมชุดปลาดาวสามารถจัดเก็บในรูปแบบของเอกสารชุด MS Office ได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนเอกสารกับผู้ใช้งานอื่นๆ ได้ตามปกติ นี่แหละสุดยอดจริงๆ นับเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการที่จะลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อซอฟท์แวร์ได้มากทีเดียว ยิ่งถ้าการพัฒนาระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ภาษาไทยประสบผลสำเร็จทั้งในแง่ความง่ายในการติดตั้งและใช้งาน เราจะได้ปลดแอกจากการเป็นทาสเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์เสียที ผมกำลังติดตั้งใช้งาน Linux TLE 4.1 ร่วมกับปลาดาวนี้

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

CPU(INTEL หริอ AMD)
ควรเลือกใช้ตามประเภทของงาน เช่น งานเอกสารทั่วไป เล่นเกม หรืองานทางด้านมัลติมีเดีย ซึ่งแต่ละงานจะต้องการความเร็ว ความละเอียดในการแสดงผลแตกต่างกัน
เมนนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ดที่ได้รับความนิยมใช้งานกันทั่วไปในปัจจุบันก็คือเมนบอร์ดมาตรฐาน ATX และมาตรฐาน micro-ATX ซึ่งเวลาเราไปเลือกซื้อเคสคอมพิวเตอร์ก็จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย ถ้าคุณเลือกใช้เมนบอร์ดแบบ ATX เคสของคุณก็ควรจะมีขนาดที่ใหญ่อยู่สักหน่อย เพื่อให้สามารถติดตั้งเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ลงไปได้อย่างสะดวก ส่วนใครที่ต้องการเคสแบบประหยัดพื้นที่ และไม่มีความต้องการในเรื่องของอุปกรณ์เพิ่มเติมบนเมนบอร์ดมากนัก เมนบอร์ดแบบ micro-ATX หรือ mATX ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

แรม (RAM)
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการเลือกซื้ออยู่พอสมควรทำงานร่วมกับซีพียูอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างในการพิจารณาเลือกซื้อ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับซีพียูและเมนบอร์ดที่ใช้ ซึ่งก็มีขายกันอยู่หลายยีห้อ เช่น Hitachi,Hyundai,Infineon,JetRAM,Micron,NCP,Lemel เป็นต้น ขนาดความจุของแรม นั้นมีให้เลือกอยู่หลายขนาด ได้แก่ 256 MB,521 MB,1 GB และ 2 GB ความจุยิ่งมากยิ่งมีราคาสูง จึงควรพิจารณาให้เหมาะสม เช่น ถ้าใช้งานทั่วๆไปควรเลือก 521 MB - 1GB แต่ถ้าใช้งานกราฟิก/มัลติมิเดียงานแอนิเมชั่น หรือเล่นเกมส์ก็ควรเลือก 2-4 GB

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งนับวันก็จะมีข้อมูลให้เก็บมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมาตรฐานความจุของฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้กันก็เขยิบสูงขึ้น ความจุสูงสุดที่ถูกผลิดออกมาจำหน่ายก็สูงขึ้น นี่ยังไม่นับรวมถึงเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลใหม่ๆที่เพิ่มเติมเข้ามา เพื่อช่วยให้อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมุลเพิ่มสูงขึ้น โดยที่ราคาก็ไม่ได้เขยิบหนีไปไหนไกล ยังอยู่ในขอบเขตที่ซื้อหามาใช้งานได้ไม่ยากนัก ความจุของข้อมูล ถ้าใช้งานทั่วๆไป ขนาดที่นิยมใช้กันคือ 160-320 GB ส่วนถ้าจะนำใปใช้ในงานที่ต้องการเก็บข้อมูลมากๆหรือมีเงินในกระเป๋าเหลือเฟือ ก็อาจจะเลือกขนาดความจุที่มากกว่านี้ก็ได้ เช่น 500 ไปจนถึง 1000 GB เป็นต้น

การ์ดแสดงผล (VGA Card)
ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีออกมาหลายรุ่นหลายยี่ห้อ หลายราคา และหลากหลายประสิทธิภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่แท้จริงของเหล่าบรรดาการ์ดแสดงผลทั้งหลายนั้นก็คือ ผู้ผลิตชิปประมวลผลกราฟิกนั่นเอง ซึ่งมีอยู่แค่ 2 รายคือ nVidia ผู้ผลิต GeForce ที่หลายคนรู้จักกันดีกับ ATI (ที่ปัจจุบันเป็นของ AMD)ผู้ผลิตชิปตระกูล Radeon ที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ nVidia นั่นเอง คุณสมบัติต่าง ๆ และข้อควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล คือ ชิปประมวลผลกราฟิก อินเตอร์เฟสของการ์ด ชนิดและขนาดของหน่วยความจำบนตัวการ์ด พอร์ตเชื่อมต่อต่าง ๆ มาตรฐานของ API ที่รองรับ


การ์ดเสียง(Sound Card)
คอมพวิเตอร์ถ้าหากมีมีภาพแต่ไม่มีเสียงก็ดูจะไม่ได้รับความบันเทิงที่สมบูรณ์ แต่ถ้าหากภาพดี แต่เสียงที่ได้ไม่ค่อยมีคุณภาพ อรรถรสในความบันเทิงก็ดูจะขาดหายไป ในทางตรงกันข้ามถ้าหากเสียงที่ได้มีคุณภาพดีมีความสมจริงก็จะให้ความบันเทิงได้สมบูรณ์แบบ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ที่จะขาดเสียมิได้ ที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์เทียบพร้อมสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในการพิจารณาเลือกซื้อนอกเหนือจากเรื่องของยี่ห้อและราคาแล้วก็ควรจะต้องคำนึกปัจจัยและคุณสมบัติต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อมีดังนี้ รูปแบบของการ์ดเสียง ลักษณะงานที่นำไปใช้

ลำโพง(Speaker)
ลำโพงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการ์ดเสียง เป็นตัวแปรที่สำคัญมากเพื่อให้ได้รับความบันเทิงทางด้านเสียงที่สมบูรณ์แบบเพราะเมื่อมีการ์ดเสียงแล้ว ก็จำเป็นต้องมีลำโพงที่มีคุณภาพด้วยเป็นของคู่กัน หลักสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อลำโพงมีดังนี้
รูปแบบของลำโพง
- ชุดลำโพงมัลติมิเดียสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่ว
- ชุดลำโพงพร้อมชับวูฟเฟอร์
- ชุดลำโพงมัลติมีเดียแบบดิจิตอล
- ชุดลำโพงระบบเสียงรอบทิศทาง


ไดร์ซีดีรอม และไดรว์ดีวีดี
เนื่องจากไดรว์ DVD-RW สามารถอ่านและเขียนแผ่นได้ทั้ง CD-ROM และ DVD-ROM จึงใช้แทนไดรว์อื่นๆ ได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่มีไดรว์ซีดีรอม (CD-ROM Drive) ไดรว์ดีวีดี (DVD Drive) ความเร็วมาตรฐาน 45-50 X หน่วยความจำ 128-256 KB ยี่ห้อที่นิยมใช้ เช่น AOpen, Asus, CTX, LG, Philips, Pioneer, Sony ป็นต้น


จอภาพ
ควรเลือกจอ CRT เพราะสามารถปรับความละเอียดสูงสุดเพื่อความสบายตาได้มากกว่าจอ LCD และมีขนาดจอให้เลือกมากกว่า


เคส (Case)
ควรเลือกซื้อ Case ที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์กว้าง ๆ มีพัดลมระบายความร้อนมาก ๆ

เพาเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)
ควรมีกำลังจ่ายไฟ 350-450 วัตต์ จะทำให้การพ่วงต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โมเด็ม(Modem)
ปัจจุบันใช้การเชื่อมต่อแบบอะนาล็อก 56 K หรือแบบความเร็วสูง ADSL มีทั้งติดตัดภายในและภายนอก
เมาส์(Mouse)
ควรเลือกเมาส์ที่มีล้อสำหรับเลื่อนหน้าจอ (Wheel Mouse) เป็นแบบไร้สาย หรือมีความรวดเร็วในการเลือกใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ
คีย์บอร์ด(Keyboard)
ควรเลือกซื้อตามความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก หากต้องการคุณภาพและมีปุ่มฟังก์ชันการทำงานมาก ๆ จะมีราคาสูง

พรินเตอร์(Pirnter)
ถ้าใช้งานทั่วไปควรเลือกประเภท Inkjet ความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้ว สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพขาวดำ และภาพสีได้ ต้องดูว่าเครื่องพิมพ์ Inkjet รุ่นนี้ใช้ตลับน้ำหมึกรุ่นไหน ตลับสีกับขาวดำราคาเท่าไหร่ เพื่อเปรียบเทียบราคาให้คุ้มค่ากับการใช้งาน

ถ้าต้องการปริมาณงานพิมพ์มาก ๆ ต้องใช้เครื่องประเภท Lazer มีราคาสูง แต่สะดวกรวดเร็ว


สแกนเนอร์(Scanner)
ควรเลือกหัวสแกนแบบ CCD ความละเอียด 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไป สแกนเนอร์บางรุ่นสามารถสแกนแผ่นฟิล์ม แผ่นสไลด์ได้ แต่มีราคาแพงพอสมควร

สรุป
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องทราบว่า
1. เรามีความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไรให้เราบ้าง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร เล่นเกม ทำงานด้านกราฟิกส์ ท่องอินเทอร์เน็ต
2. ราคาเครื่อง ควรคำนึงถึงงบประมาณของเราหากใช้สำหรับงานทั่วไป ราคาจะไม่แพงมาก แต่หากต้องใช้ด้านกราฟิกส์ ต้องใช้สเป็คเครื่องที่สูง ราคาก็จะสูงตาม
3. เลือกดูตามศูนย์ไอที ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสำนักงาน สอบถามพนักงานขายแต่ละร้านเพื่อความเข้าใจที่ตรงกับความต้องการของเรา
4. สเป็คเครื่อง ควรอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสเป็คของเครื่องที่มีอยู่ในแผ่นพับ แผ่นปลิว ของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทางด้านยี่ห้อ รุ่น ขนาด ความเร็ว ความจุ หน่วยความจำ ของแถม
5. การบริการหลังการขาย ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากเครื่องมีปัญหา และไม่มีบริการหลังการขาย เราจึงควรเลือกรูปแบบการบริการมีอยู่ 2 แบบคือ
5.1 การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เมื่อเครื่องเสีย ทางร้านจะส่งช่างมารับไปซ่อมจนเสร็จ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มียี่ห้อและราคาค่อนข้างสูง
5.2 การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง หากเครื่องเสีย เราต้องยกเครื่องไปซ่อมเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มีราคาถูก
6. ระยะเวลาในการรับประกันสินค้า จะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชิ้น ปกติจะมีการรับประกัน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ มีราคาแพง อาจรับประกันถึง 3 ปี
7. รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์
7.1 ฮาร์ดดิสค์ (Harddisk) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี ถ้าเสียหายภายใน 1 เดือนแรกทางบริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ แต่ไม่รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือทำหล่นกระแทกอย่างรุนแรง
7.2 เมนบอร์ด (Mainboard) ส่วนใหญ่จะรับประกัน 1 ปี แต่ไม่รวมถึงไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดต่าง ๆ ลงไปอย่างแรง ทำให้หักหรือสายวงจรขาด
7.3 ซีพียู (CPU) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี
7.4 หน่วยความจำ (Ram) หากราคาแพงจัดอยู่ในเกรดที่ดีจะรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แรมเกรดทั่วไปราคาจะถูกกว่ามาก รับประกันเพียง 1 ปี
7.5 ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) หากมีราคาแพงรับประกัน 1 ปี ราคาถูกจะรับประกันเพียง 1 เดือน
7.6 ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกันเพียง 1 ปี หากเสียหายหรือมีปัญหาใด ๆ ให้ส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
7.7 การ์ดจอและการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนมากอุปกรณ์นี้มักไม่เสีย ควรตรวจเช็คว่าเสียบการ์ดแน่นดีหรือเปล่า
8. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ควรใช้ขนาด 250 W. เป็นอย่างต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไฟไม่พอเมื่อต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์หลายชนิด
9. ความคุ้มค่า ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าสมราคา ไม่ควรเปิดทิ้งไว้หากไม่ได้ใช้ จะได้ช่วยประหยัดพลังงานของชาติได้อีกทางหนึ่ง

สเป็คเครื่อง Acer Aspire 4330-161G16Mn/C011


คุณสมบัติ
- โพรเซสเซอร์ Intel Celeron Dual-Core T1600
- ความเร็ว 1.66 GHz
- ชิปเซ็ต Mobile Intel GL40 Express
- ฮาร์ดดิสก์ 160 GB (5400rpm)
- ชิพกราฟิก Intel GMA 4500M
- DVD Super Multi Double layer
- น้ำหนัก 2.4 กก.
- ขนาดหน้าจอ 14.1 นิ้ว
- ระบบปฏิติการ Linpus Linux BE
- Resolution ความละเอียดในการแสดงผลของภาพ โดยจะกำหนดเป็น เมกะพิกเซล ยิ่งมีค่ามากก็จะยิ่งมีความละเอียดสูง
- Card Reader เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านการ์ด (เมมโมรีชนิดต่างๆ)
- Bluetooth เทคโนโลยีไร้สายที่ใช้การรับส่งสัญญาณวิทยุคลื่นสั้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่าย และระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ กับอินเทอร์เน็ต เป็นเรื่องง่ายขึ้น

BANDWIDTH (แบนด์วิดธ์)

ความรู้เบื้องต้น Bandwidth

แบนด์วิดท์ (Bandwidth) หมายถึง ความจุข้อมูลของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า หน่วยวัดของ Bandwidth คือ Bits per second หรือ บิตต่อวินาที เราสามารเปรียบเทียบขนาดของ Bandwidth ได้กับ

ความกว้างของท่อส่งน้ำ
จำนวนถนนที่สามารถให้รถยนต์วิ่งผ่านไปได้
ปริมาณ/ขนาดของแถบสัญญาณเสียง เป็นต้น


ความสำคัญของ Bandwidth
Bandwidth เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรับส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่าย
Bandwidth ที่ดีจะต้องสามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ และรับส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่ดี Bandwidth จึงมีขีดจำกัดโดยขึ้นอยู่กับชนิดสื่อที่เลือกใช้เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูล
Bandwidth มีมูลค่าและสามารถประเมินค่าออกมาเป็นเงินได้
Bandwidth เป็นเครื่องวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย
Bandwidth เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการออกแบบเครือข่าย
Bandwidth
ช่วยสร้างความเข้าใจและแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล

RAM


ประเภทของแรม


Static Random Access Memory (SRAM)
จะต่างจาก DRAM ตรงที่ว่า DRAM จะต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ และจะไม่ทำการ refresh โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ refresh ก็ต่อเมื่อ สั่งให้มัน refresh เท่านั้น ซึ่งข้อดีของมัน ก็คือความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า DRAM ปกติมาก แต่ก็ด้วยราคาที่สูงกว่ามาก จึงเป็นข้อด้อยของมันเช่นกัน

Dynamic Random Access Memory (DRAM)
DRAM จะทำการเก็บข้อมูลในตัวเก็บประจุ ( Capacitor ) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ refresh เพื่อ เก็บข้อมูลให้คงอยู่ โดยการ refresh นี้ ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และก็เนื่อง จากที่มันต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลานี้เอง จึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า Dynamic RAM ปัจจุบันนี้แทบจะหมดไปจากตลาดแล้ว

CUP

ประวัติและความเป็นมาของ CPU

CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit คือ หน่วยประมวลผลกลาง ตามที่พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์เอาไว้ หรือเีรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (Chip) CPU มีลักษณะเป็นชิปตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่ง ภายใน CPU จะประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า CPU จะทำหน้าที่คำนวณตัวเลขจากชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนโปรแกรมเข้าไปแล้ว CPU จะไปอ่านชุดคำสั่งมาแปลความหมาย และทำการคำนวณ เมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะส่งผลลัพธ์ออกไปแสดงผลทางหน้าจอ





ประเภท CPU





CPU INTEL
อินเทล (Inter Corporation) เป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูที่เก่าแก่และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086, 8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมา จนถึง Celeron Pentium II และ III ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Celeron II ,Pentium 4 และ Pentium 4 Extreme Editionที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวางเรื่อยมา ซีพียูรุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบริษัทอินเทล (Inter) มีดังนี้

1971 : 4004 Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข
1972 : 8008 Microprocessor รุ่นที่พัฒนาต่อมา ใช้งานแบบ "TV typewriter" กับ dump terminal
1974 : 8080 Microprocessor รุ่นนี้เป็นการใช้งานแบบ Personal Computer รุ่นแรก ๆ 1978 : 8086-8088 Microprocessor หรือรุ่น XT ยังเป็นแบบ 8 bit เป็น PC ที่เริ่มใช้งานจริง
1982 : 80286 Microprocessor หรือรุ่น AT 16 bit เริ่มเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแพร่หลาย1985 : 80386 Microprocessor เริ่มเป็น CPU 32 bit และสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้
1989 : 80486 Microprocessor เข้าสู่ยุคของการใช้จอสี และมีการติดตั้ง Math-Coprocessor

รุ่นแรกๆ ทาง Intel ใช้ชื่อรุ่นเป็นรุ่นของ CPU นั้นๆเลยจึงเกิดการเลียนแบบเทคโนโลยีกันขึ้นโดยค่ายอื่นได้ผลิตเทคโนโลยีตามหลังIntelมาเรื่อยๆ ต่อมาทาง Intel ได้ใช้ชื่อ Pentium แทน 80486 เนื่องจากการที่ ชื่อสินค้าที่เป็นตัวเลขกฏหมายไม่ยอมให้จดลิขสิทธิ์ จึงเป็นที่มาของชื่อ Platform ต่างๆ

1993 : Pentium Processor ยุคแรกที่ Intel ใช้ชื่อว่า Pentium
1995 : Pentium Pro Processor สำหรับเครื่อง Server และ Work Station โดยต่อมาได้ผลิตเทคโนโลยี MMX และทำเป็น Intel MMX
1997 : Pentium II Processor รวมเ Technology ของ Pentium Pro คือ มี cache ระดับ 2 รวมอยู่บนpackage เดียวกับ CPU กับ Technology MMX ไว้ด้วยกัน แล้วทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน
1998 : Pentium II Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station 1999 : Celeron(TM) Processor สำหรับตลาดระดับล่างของ Intel ที่ตัดความสามารถบางส่วนออก เพื่อลดต้นทุนการผลิต และ สามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า Pentium II มาก แต่ถึงแม้ Celeron ที่ออกมานั้น จะใช้ในงานด้าน เล่นเกมส์ได้ดี แต่กลับงานประเภท office application กลับทำได้แย่กว่า หรือพอพอกับ Pentium MMX
1999 : Pentium III Processor เพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยประมวลผลในด้านต่างๆไปใหม่ ในลักษณะของ MMX
1999 : Pentium III Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station 2001 : Pentium 4 Processor มีเทคโนโลยี HT ทำให้การใช้งานทีละหลายโปรแกรมได้ดีขึ้2003 : Pentium M ส่วนใหญ่ใช้ใน mobile technology เนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าน้อย

2005 : Pentium D มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบ Multi-core เพิ่มเข้ามาโดยมี2 coreแต่ละ core จะเป็นอิสระต่อกัน
2006 : Intel Core duo นี่แหละครับพระเอกของเราต่างกับ Pentium D ตรงที่มีการแชร์ 2 core ด้วยกัน(dual core)
2006 : Intel Core 2 Duo รองรับชุดคำสั่ง 64 bit และยังประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย2006 : Intel Core 2 Extreme QX6700 คือ มี 4 core
2006 : Yorkfield คือ 8 core




CPU AMD
เอเอ็มดี (Advanced Micro Devices) นับเป็นคู่แข่งสำคัญของอินเทล ซึ่งได้พัฒนาซีพียูรุ่นต่างๆ ของตนเองออกมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยุค K5, K6 (K6-2/K6-III), K7 (Athlon/Duron/Athlon XP) เรื่อยมา ก่อนี่จะก้าวเข้าสู่ยุคของซีพียูในตระกูล K8 ที่ได้ปรับโครงสร้างภายในใหม่ โดยได้ย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำเข้ามาไว้ภายในตัวซีพียูเลย (Integrated Memory Controller) ซึ่งช่วยให้การติดต่อหรือรับส่งข้อมูลกันระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมๆ กับสนับสนุนการประมวลผลทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยเทคโนโลยี AMD64 อย่าง Sempron, Athlon64 และ Athlon 64 FX รวมไปถึงซีพียูในกลุ่ม Dual & Multi-Core กลุ่มแรกอย่าง Athlon 64 X2 และ Athlon 64 FX ด้วย ก่อนจะข้ามมาสู่ยุค K10 ซึ่งเป็นซีพียูในกลุ่ม Dual & Multi-Core ขนานแท้ อย่าง Athlon X2, Phenom X3, Phenom X4 และ Phenom FX เป็นต้น

K5 หลังจากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version ครับ แตกต่างกันไปนิดๆ หน่อย โดย Version แรกนั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.6 ไมครอน ก็คือ K5-75, 90,100 .. Version ที่ 2 นั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ได้แก่ K5-100... ส่วน Version ถัดมานั้นได้มีการปรับปรุง Core ใหม่อีกเล็กน้อย คือรุ่นK5-PR120 และ PR133 ส่วน Version สุดท้าย ก็คือ K5-PR166 ซึ่งใช้ตัวคูณที่แปลก แหวกแนวจากชาวบ้านเขา คือ คูณด้วย 1.75 ใช้งานบน FSB 66 MHz
K6 เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือนเดียว คือเริ่มวางจำหน่ายในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1997 ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 166 MHz จนถึง 233 MHz ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6 นี้ ใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ Nx686 ของทาง NexGen ซึ่งทาง AMD ซื้อบริษัทนี้เข้าไว้ตั้งแต่ก่อนออก K5 เสียอีก มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากกว่า Intel Pentium MMX เป็นเท่าตัว คือมีถึง 64K ( Instruction Cache 32K และ Data Cache อีก 32K ) นอกจากนี้ยังได้รวมเอาชุดคำสั่ง MMX ของทาง AMD เอง เข้าไว้ด้วย ส่วนสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในนั้น ก็จะเป็นในรูปแบบของ RISC CPU ( Reduced Instruction Set Computer ) ใช้งานบน Socket 7 .. นอกเหนือไปจากนั้น ก็มี CPU ในสายนี้ แต่เป็น CPU สำหรับ Mobile PC นั้นคือ K6 Model 7 ที่มีระดับความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน
K6-2 เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ที่ปรับปรุงมาจาก K6 เดิม ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.25 ไมครอน มี Cache ระดับ 1 ที่ 64 K และใช้ Cache ระดับ 2 บน Main board ซึ่งก็จะมีตั้งแต่ขนาด 512 K เป็นต้นไป จนถึง 2 M ละครับ ... K6-2 นี้ มีชุดคำสั่ง MMX เช่นเดียวกับ Pentium MMX แต่ได้เพิ่มชุดคำสั่งพิเศษเข้าไปเพื่อช่วยในการประมวลผลด้าน Graphic 3 มิติ ที่เรียกว่า ชุดคำสั่ง 3DNow! มีความเร็วเริ่มต้นที่ 266 MHz ใช้ FSB 66 MHz ส่วนรุ่นความเร็วถัดมา 300 MHz นั้น จะใช้ FSB เป็น 100 MHz CPU K6-2 นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version แรก ที่ความเร็ว 266 (66x4), 300 (100x3), 333 (95x3.5), 350 (100x3.5) และ 366 (66x5.5) MHz ซึ่งเป็น Original Version เลย ส่วน Version ถัดมานั้น ทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแกนหลักของ CPU ใหม่ โดยเฉพาะตรงส่วนของการจัดการกับ Cache เรียกว่า CXT Core ซึ่งก็ใช้ใน K6-2 รุ่นความเร็วตั้งแต่ 380 MHz เป็นต้นมา ... ปัจจุบันนี้ ในตลาดบ้านเรา ก็จะพบว่าเป็นรุ่น CXT Core ทั้งหมดแล้ว โดยรุ่นที่มีจำหน่าย ณ ปัจจุบัน คือรุ่นความเร็ว 500 และ 550 MHz
Athlon ซีพียู ตระกูล Athlon XP รุ่น Athlon XP 2200+ ที่มีความเร็ว 1.8GHz นั้น จะถูกเปิดตัวในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ รุ่น 2200+ นี้ นับเป็นซีพียูรุ่นแรกของบริษัท AMD ที่ใช้เทคโนโลยี (แกนในซีพียูขนาดแค่) 0.13 micron ในการผลิต ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความเร็วรอบนาฬิกาได้แล้ว ยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อย่างมากด้วย ส่วนซีพียูรุ่นอื่น ที่น่าสนใจต่อเนื่องจากรุ่น 2200+ นั้น คือ รุ่น Barton จะมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Silicon on Insulator ซึ่งยิ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดไฟฟ้า และความเร็วรอบนาฬิกาสูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้ คาดกันว่า ซีพียู Bartonจะออกวางแผงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ส่วนซีพียูรุ่นราคาประหยัด คือ Duron นั้น คาดว่าจะมีการเพิ่มความเร็วขึ้นไปอีก เป็น 1.4GHz ก่อนที่จะหยุดการผลิตในปลายปีนี้
Sempron ซีพียูรุ่น Sempron ในตอนนี้ตลาดในบ้านเรา มีซีพียูรุ่นนี้ในรูปแบบ ซ็อกเก็ต A และ ซ็อกเก็ต754 ในรุ่น 3100+ แต่สำหรับปี 2005 ในช่วงไตรมาสแรกของปี AMD จะทำการเปิดตัว Sempron รุ่นที่เป็นซ็อกเก็ต754 ออกมาในไตรมาสเดียวถึง 4 รุ่นด้วยกันเริ่มตั้งแต่ Sempron 2600+, Sempron 2800+, Sempron 3000+ และ Sempron 3200+ ซีพียูทั้ง 4 รุ่นที่ถูกเปิดตัวออกมาในไตรมาสนี้ จะมีสองรุ่นที่จะจากเราไปก่อนนั่นคือ Sempron 2600+ ที่ถูกวางแผนหยุดสายการผลิตตั้งแต่ยังไม่ทันเปิดตัวไว้ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2005 และ Sempron 2800+ ที่จะถูกหยุดสายการผลิตในปี 2006 ช่วงไตรมาสแรก ในช่วงไตรมาสแรกของปี2005 นี้ นอกจากจะมีซีพียู Sempron ซ็อกเก็ต754 เปิดตัวออกมาแล้ว ช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังมี Sempron ที่จะเปิดตัวออกมาในรูปแบบซ็อกเก็ต939 อีกด้วย ในรุ่น Sempron 3000+ และ Sempron 3200+
Athlon 64 EX AMD Athlon64 X2 Dual-Core 5000+ เป็นซีพียูตระกูล X2 Dual-Core ครับ จากเดิมในรุ่นที่เป็นซ็อกเก็ต 939 รุ่นสูงสุดของตระกูลนี้ได้แก่ AMD Athlon64 X2 Dual-Core 4800+ Athlon64 X2 ในตอนนี้ โดยในตระกูล AM2 ด้วยกัน มีความเร็วเป็นรองอยู่ก็แค่ FX-62 เท่านั้น X2 5000+ จะทำงานที่ความเร็ว 2.6GHz ร่วมกับแรม DDR2-743 ตรงจุดนี้ไม่ใช่ DDR2-800 นะครับ ซึ่งเดี๋ยวเราจะอธิบายอีกทีในภายหลัง ซีพียูตัวนี้จะมี L2 Cache เพียงแค่ 512kB เท่านั้น เล็กกว่า X2 4800+ ที่มีขนาด 1MB และจะมี L2 Cache เท่ากับซีพียูในรุ่น Athlon64 แต่ทว่าในรุ่นนั้นเป็นเพียง Single Core ... ด้วยประเด็นในเรื่องความเร็วและขนาดของ L2 Cache ทำให้ซีพียูตัวนี้มีระดับอยู่ระหว่าง FX-62 และ X2 4800+ สำหรับเจ้า X2 5000+ ตัวนี้ ถ้าจะหารุ่นที่เทียบเคียงกับมันในซ็อกเก็ต 939 ในรุ่น X2 ที่เท่าเทียบกันก็คงไม่มี เพราะซ็อกเก็ต 939 รุ่นสูงสุดคือ X2 4800+ จะมีสเปกเหมือนกับ X4800+ AM2 แทบทุกอย่างยกเว้น DDR2 แต่ถ้าไม่นับว่าเฉพาะ X2 ก็สามารถเทียบได้กับ FX-60 ที่เป็น 939 ครับ ถือว่าใกล้เคียงกันที่สุด แต่เจ้า 5000+ ก็ยังเป็นรองด้วย L2 Cache ที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ความเร็วเท่ากัน
Phenom AMD ได้ทำการเปิดตัวแนะนำชิพประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุดหนึ่งในตระกูล Phenom II หรือที่เรียกกันว่า Dragon โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าแข่งขันกับคู่แข่งอย่าง Intel ทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพและเรื่องของราคา…AMD ได้ทำการเปิดตัวแนะนำชิพประมวลผลใหม่ตระกูล Phenom II หรือ Dragon สำหรับคอมพิวเตอร์พีซี โดยชิพประมวลผลตระกูล Dragon นี้ จะใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตรในกระบวนการผลิต ซึ่งจะมีทั้งแบบ quad-core (X4) และ triple-core (X3) โดยชิพประมวลผล triple-core Phenom II X3 720 Black Edition นี้ ซึ่งชิพประมวลผลรุ่นนี้เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับ Intel จะตรงกับในรุ่น Core 2 Duo (dual-core) E8400 ซึ่งจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าของ AMD quad-core X4 810 processor (2.6GHz) ซึ่งตรงกับสเปกรุ่น Core 2 Quad Q8200 (2.33GHz) ของ Intel