การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

CPU(INTEL หริอ AMD)
ควรเลือกใช้ตามประเภทของงาน เช่น งานเอกสารทั่วไป เล่นเกม หรืองานทางด้านมัลติมีเดีย ซึ่งแต่ละงานจะต้องการความเร็ว ความละเอียดในการแสดงผลแตกต่างกัน
เมนนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ดที่ได้รับความนิยมใช้งานกันทั่วไปในปัจจุบันก็คือเมนบอร์ดมาตรฐาน ATX และมาตรฐาน micro-ATX ซึ่งเวลาเราไปเลือกซื้อเคสคอมพิวเตอร์ก็จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย ถ้าคุณเลือกใช้เมนบอร์ดแบบ ATX เคสของคุณก็ควรจะมีขนาดที่ใหญ่อยู่สักหน่อย เพื่อให้สามารถติดตั้งเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ลงไปได้อย่างสะดวก ส่วนใครที่ต้องการเคสแบบประหยัดพื้นที่ และไม่มีความต้องการในเรื่องของอุปกรณ์เพิ่มเติมบนเมนบอร์ดมากนัก เมนบอร์ดแบบ micro-ATX หรือ mATX ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

แรม (RAM)
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการเลือกซื้ออยู่พอสมควรทำงานร่วมกับซีพียูอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างในการพิจารณาเลือกซื้อ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับซีพียูและเมนบอร์ดที่ใช้ ซึ่งก็มีขายกันอยู่หลายยีห้อ เช่น Hitachi,Hyundai,Infineon,JetRAM,Micron,NCP,Lemel เป็นต้น ขนาดความจุของแรม นั้นมีให้เลือกอยู่หลายขนาด ได้แก่ 256 MB,521 MB,1 GB และ 2 GB ความจุยิ่งมากยิ่งมีราคาสูง จึงควรพิจารณาให้เหมาะสม เช่น ถ้าใช้งานทั่วๆไปควรเลือก 521 MB - 1GB แต่ถ้าใช้งานกราฟิก/มัลติมิเดียงานแอนิเมชั่น หรือเล่นเกมส์ก็ควรเลือก 2-4 GB

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งนับวันก็จะมีข้อมูลให้เก็บมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมาตรฐานความจุของฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้กันก็เขยิบสูงขึ้น ความจุสูงสุดที่ถูกผลิดออกมาจำหน่ายก็สูงขึ้น นี่ยังไม่นับรวมถึงเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลใหม่ๆที่เพิ่มเติมเข้ามา เพื่อช่วยให้อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมุลเพิ่มสูงขึ้น โดยที่ราคาก็ไม่ได้เขยิบหนีไปไหนไกล ยังอยู่ในขอบเขตที่ซื้อหามาใช้งานได้ไม่ยากนัก ความจุของข้อมูล ถ้าใช้งานทั่วๆไป ขนาดที่นิยมใช้กันคือ 160-320 GB ส่วนถ้าจะนำใปใช้ในงานที่ต้องการเก็บข้อมูลมากๆหรือมีเงินในกระเป๋าเหลือเฟือ ก็อาจจะเลือกขนาดความจุที่มากกว่านี้ก็ได้ เช่น 500 ไปจนถึง 1000 GB เป็นต้น

การ์ดแสดงผล (VGA Card)
ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีออกมาหลายรุ่นหลายยี่ห้อ หลายราคา และหลากหลายประสิทธิภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่แท้จริงของเหล่าบรรดาการ์ดแสดงผลทั้งหลายนั้นก็คือ ผู้ผลิตชิปประมวลผลกราฟิกนั่นเอง ซึ่งมีอยู่แค่ 2 รายคือ nVidia ผู้ผลิต GeForce ที่หลายคนรู้จักกันดีกับ ATI (ที่ปัจจุบันเป็นของ AMD)ผู้ผลิตชิปตระกูล Radeon ที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ nVidia นั่นเอง คุณสมบัติต่าง ๆ และข้อควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล คือ ชิปประมวลผลกราฟิก อินเตอร์เฟสของการ์ด ชนิดและขนาดของหน่วยความจำบนตัวการ์ด พอร์ตเชื่อมต่อต่าง ๆ มาตรฐานของ API ที่รองรับ


การ์ดเสียง(Sound Card)
คอมพวิเตอร์ถ้าหากมีมีภาพแต่ไม่มีเสียงก็ดูจะไม่ได้รับความบันเทิงที่สมบูรณ์ แต่ถ้าหากภาพดี แต่เสียงที่ได้ไม่ค่อยมีคุณภาพ อรรถรสในความบันเทิงก็ดูจะขาดหายไป ในทางตรงกันข้ามถ้าหากเสียงที่ได้มีคุณภาพดีมีความสมจริงก็จะให้ความบันเทิงได้สมบูรณ์แบบ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ที่จะขาดเสียมิได้ ที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์เทียบพร้อมสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในการพิจารณาเลือกซื้อนอกเหนือจากเรื่องของยี่ห้อและราคาแล้วก็ควรจะต้องคำนึกปัจจัยและคุณสมบัติต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อมีดังนี้ รูปแบบของการ์ดเสียง ลักษณะงานที่นำไปใช้

ลำโพง(Speaker)
ลำโพงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการ์ดเสียง เป็นตัวแปรที่สำคัญมากเพื่อให้ได้รับความบันเทิงทางด้านเสียงที่สมบูรณ์แบบเพราะเมื่อมีการ์ดเสียงแล้ว ก็จำเป็นต้องมีลำโพงที่มีคุณภาพด้วยเป็นของคู่กัน หลักสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อลำโพงมีดังนี้
รูปแบบของลำโพง
- ชุดลำโพงมัลติมิเดียสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่ว
- ชุดลำโพงพร้อมชับวูฟเฟอร์
- ชุดลำโพงมัลติมีเดียแบบดิจิตอล
- ชุดลำโพงระบบเสียงรอบทิศทาง


ไดร์ซีดีรอม และไดรว์ดีวีดี
เนื่องจากไดรว์ DVD-RW สามารถอ่านและเขียนแผ่นได้ทั้ง CD-ROM และ DVD-ROM จึงใช้แทนไดรว์อื่นๆ ได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่มีไดรว์ซีดีรอม (CD-ROM Drive) ไดรว์ดีวีดี (DVD Drive) ความเร็วมาตรฐาน 45-50 X หน่วยความจำ 128-256 KB ยี่ห้อที่นิยมใช้ เช่น AOpen, Asus, CTX, LG, Philips, Pioneer, Sony ป็นต้น


จอภาพ
ควรเลือกจอ CRT เพราะสามารถปรับความละเอียดสูงสุดเพื่อความสบายตาได้มากกว่าจอ LCD และมีขนาดจอให้เลือกมากกว่า


เคส (Case)
ควรเลือกซื้อ Case ที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์กว้าง ๆ มีพัดลมระบายความร้อนมาก ๆ

เพาเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)
ควรมีกำลังจ่ายไฟ 350-450 วัตต์ จะทำให้การพ่วงต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โมเด็ม(Modem)
ปัจจุบันใช้การเชื่อมต่อแบบอะนาล็อก 56 K หรือแบบความเร็วสูง ADSL มีทั้งติดตัดภายในและภายนอก
เมาส์(Mouse)
ควรเลือกเมาส์ที่มีล้อสำหรับเลื่อนหน้าจอ (Wheel Mouse) เป็นแบบไร้สาย หรือมีความรวดเร็วในการเลือกใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ
คีย์บอร์ด(Keyboard)
ควรเลือกซื้อตามความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก หากต้องการคุณภาพและมีปุ่มฟังก์ชันการทำงานมาก ๆ จะมีราคาสูง

พรินเตอร์(Pirnter)
ถ้าใช้งานทั่วไปควรเลือกประเภท Inkjet ความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้ว สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพขาวดำ และภาพสีได้ ต้องดูว่าเครื่องพิมพ์ Inkjet รุ่นนี้ใช้ตลับน้ำหมึกรุ่นไหน ตลับสีกับขาวดำราคาเท่าไหร่ เพื่อเปรียบเทียบราคาให้คุ้มค่ากับการใช้งาน

ถ้าต้องการปริมาณงานพิมพ์มาก ๆ ต้องใช้เครื่องประเภท Lazer มีราคาสูง แต่สะดวกรวดเร็ว


สแกนเนอร์(Scanner)
ควรเลือกหัวสแกนแบบ CCD ความละเอียด 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไป สแกนเนอร์บางรุ่นสามารถสแกนแผ่นฟิล์ม แผ่นสไลด์ได้ แต่มีราคาแพงพอสมควร

สรุป
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องทราบว่า
1. เรามีความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไรให้เราบ้าง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร เล่นเกม ทำงานด้านกราฟิกส์ ท่องอินเทอร์เน็ต
2. ราคาเครื่อง ควรคำนึงถึงงบประมาณของเราหากใช้สำหรับงานทั่วไป ราคาจะไม่แพงมาก แต่หากต้องใช้ด้านกราฟิกส์ ต้องใช้สเป็คเครื่องที่สูง ราคาก็จะสูงตาม
3. เลือกดูตามศูนย์ไอที ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสำนักงาน สอบถามพนักงานขายแต่ละร้านเพื่อความเข้าใจที่ตรงกับความต้องการของเรา
4. สเป็คเครื่อง ควรอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสเป็คของเครื่องที่มีอยู่ในแผ่นพับ แผ่นปลิว ของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทางด้านยี่ห้อ รุ่น ขนาด ความเร็ว ความจุ หน่วยความจำ ของแถม
5. การบริการหลังการขาย ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากเครื่องมีปัญหา และไม่มีบริการหลังการขาย เราจึงควรเลือกรูปแบบการบริการมีอยู่ 2 แบบคือ
5.1 การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เมื่อเครื่องเสีย ทางร้านจะส่งช่างมารับไปซ่อมจนเสร็จ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มียี่ห้อและราคาค่อนข้างสูง
5.2 การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง หากเครื่องเสีย เราต้องยกเครื่องไปซ่อมเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มีราคาถูก
6. ระยะเวลาในการรับประกันสินค้า จะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชิ้น ปกติจะมีการรับประกัน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ มีราคาแพง อาจรับประกันถึง 3 ปี
7. รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์
7.1 ฮาร์ดดิสค์ (Harddisk) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี ถ้าเสียหายภายใน 1 เดือนแรกทางบริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ แต่ไม่รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือทำหล่นกระแทกอย่างรุนแรง
7.2 เมนบอร์ด (Mainboard) ส่วนใหญ่จะรับประกัน 1 ปี แต่ไม่รวมถึงไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดต่าง ๆ ลงไปอย่างแรง ทำให้หักหรือสายวงจรขาด
7.3 ซีพียู (CPU) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี
7.4 หน่วยความจำ (Ram) หากราคาแพงจัดอยู่ในเกรดที่ดีจะรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แรมเกรดทั่วไปราคาจะถูกกว่ามาก รับประกันเพียง 1 ปี
7.5 ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) หากมีราคาแพงรับประกัน 1 ปี ราคาถูกจะรับประกันเพียง 1 เดือน
7.6 ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกันเพียง 1 ปี หากเสียหายหรือมีปัญหาใด ๆ ให้ส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
7.7 การ์ดจอและการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนมากอุปกรณ์นี้มักไม่เสีย ควรตรวจเช็คว่าเสียบการ์ดแน่นดีหรือเปล่า
8. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ควรใช้ขนาด 250 W. เป็นอย่างต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไฟไม่พอเมื่อต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์หลายชนิด
9. ความคุ้มค่า ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าสมราคา ไม่ควรเปิดทิ้งไว้หากไม่ได้ใช้ จะได้ช่วยประหยัดพลังงานของชาติได้อีกทางหนึ่ง

0 ความคิดเห็น: